วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ประสิทธิภาพของกระบวนการสื่อสาร เพื่อการศึกษาทางไกลระดับมัธยมศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในโครงการศึกษาสายสามัญด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพของกระบวนการสื่อสาร เพื่อการศึกษาทางไกลระดับมัธยมศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยพิจารณาถึงผลที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารทางไกล บทบาทของ เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยพิจารณาถึงผลที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ทางไกล บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ รูปแบบ ข้อดี ข้อเสีย และปัจจัยที่มีผลต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการ สื่อสารเพื่อการศึกษาทางไกล ตลอดจนศึกษาถึงการยอมรับของ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาที่มีต่อรูปแบบการ ศึกษาทางไกลในโครงการศึกษาสายสามัญด้วยระบบทางไกลผ่าน ดาวเทียม การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาในประสิทธิภาพของกระบวนการ สื่อสารเพื่อการศึกษาทางไกลระดับมัธยมศึกษาโดยใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ ด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจำนวน 4 กลุ่ม ซึ่ง ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหารและผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา กลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา กลุ่ม นักวิชาการและนักสื่อสารมวลชน และกลุ่มครูอาจารย์ของโรงเรียน ที่เข้าร่วมในโครงการศึกษาสายสามัญด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม จำนวน 18 คน และได้ศึกษาถึงความคิดเห็นและการยอมรับของ นักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ในเรื่องประสิทธิภาพ ของการสื่อสารเพื่อการศึกษาทางไกลของโครงการฯ โดยสำรวจ ด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างนักเรียนจำนวน 291 คน จาก โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 22 จังหวัดแม่ฮ่องสอน การวิจัยปรากฎผลดังนี้ 1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทต่อการศึกษาทางไกลมาก ทั้งในด้านการบริหารการศึกษาและการเรียนการสอน โดยเป็น เครื่องมือสำคัญในการกระจายโอกาสและสร้างความทัดเทียม ทางการศึกษา 2. เกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อ การศึกษาทางไกลประกอบด้วย2.1 ระดับนโยบาย พิจารณาถึงการลงทุนทางการศึกษา การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม การพัฒนาคุณภาพครู และการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารโทรคมนาคม2.2 ระดับปฏิบัติพิจารณาถึงความพร้อมของโรงเรียน ครูและนักเรียน ความสามารถในการนำไปประยุกต์ใช้ และมีการ ศึกษาประเมินผลการใช้ เพื่อนำเสนอข้อมูลให้กับระดับนโยบาย 3. รูปแบบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมต่อการใช้ เพื่อการศึกษาทางไกลระดับมัธยมศึกษา คือ การผสมผสานเทคโนโลยี หลายรูปแบบ เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ สภาพแวดล้อม และจุดเด่น จุดด้อยของเทคโนโลยี แต่ทั้งนี้สิ่งสำคัญยิ่งกว่าเทคโนโลยี เนื้อหา หรือสารที่อยู่ภายในสื่อ 4. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการศึกษาทางไกล ระดับมัธยมศึกษามีข้อดีในการแก้ปัญหาขาดแคลนครู ซึ่งเป็นประโยชน์ ต่อการกระจายโอกาสและสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา ทั้งนี้มีข้อจำกัดในเรื่องการนำมาใช้ได้ไม่สมบูรณ์แบบ และการ เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีตลอดเวลา ส่วนข้อเสียเป็นผล จากประสิทธิภาพในการแพร่กระจายของเทคโนโลยี สามารถ ถ่ายทอด หากเนื้อหาหรือกระบวนการสอนไม่มีคุณภาพพอ จะเป็น การกระจายสิ่งไม่ดีออกไปในวงกว้างได้ 5. ปัญหาและอุปสรรคในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เพื่อการศึกษาทางไกล ประกอบด้วยการให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี มากกว่าเนื้อหาหรือซอฟต์แวร์ ความไม่พร้อมของผู้ใช้ โดยเฉพาะใน ด้านความรู้ ความเข้าใจ และความไม่พร้อมโครงสร้างพื้นฐาน การสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศที่จะเอื้ออำนวยต่อการศึกษา แนวทางแก้ไขที่สำคัญได้แก่ การจัดตั้งหน่วยงานกลาง เพื่อทำ หน้าที่ดูแลและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา การลงทุนเพื่อพัฒนาครู ตลอดจนสร้างด้านพื้นฐานโครงสร้าง โทรคมนาคม 6. ปัจจัยที่มีผลต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อ การศึกษาทางไกลระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ของผู้ บริหารทางการศึกษาต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ มีการ ศึกษาถึงความต้องการและความพร้อมของผู้ใช้ และมีกระบวนการ ติดตามและประเมินผลการใช้ 7. ผลการวิจัยถึงความคิดเห็นและการยอมรับของนักเรียน ต่อโครงการศึกษาทางไกลสายสามัญด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม ประกอบด้วย7.1 นักเรียนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่า เพศชาย โดยส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และยังไม่ได้ เลือกแผนการศึกษา7.2 ในเรื่องความรู้ความเข้าใจและความคิดเห็นต่อ โครงการฯ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ในเรื่องอุปกรณ์ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความเข้าใจในประโยชน์ของการสอน ทางไกลผ่านดาวเทียม และมีความคิดเห็นว่าการสอนทางไกลมี ความน่าสนใจเท่ากันกับการสอนของครูโดยตรง แต่การสอนของครู โดยตรงจะให้ความรู้และให้โอกาสในการซักถามได้มากกว่า ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ชอบการสอนทั้งสองรูปแบบ7.3 ในเรื่องประโยชน์ ความพึงพอใจและการยอมรับ ต่อโครงการฯ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างเห็นพ้องถึงความจำเป็นที่ต้อง มีครูสอนประกอบ เพื่อทำหน้าที่สรุปบทเรียนแต่ละวิชาเป็นหลัก และเห็นว่าการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมมีประโยชน์มาก สำหรับ ในเรื่องความพึงพอใจกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมากต่อคุณลักษณะ ของครูผู้สอนของโรงเรียนแม่ข่าย คุณลักษณะของเนื้อหาวิชาที่ สอน และคุณลักษณะของสื่อ ยกเว้นเรื่องระยะห่างระหว่างโทรทัศน์ กับที่นั่งเรียนบรรยากาศในห้องเรียน และโอกาสในการซักถาม ซึ่งพึงพอใจปานกลาง7.4 ในเรื่องประสิทธิภาพของการสื่อสารเพื่อการศึกษา ทางไกลของโครงการฯ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าคุณลักษณะ ของผู้สอน คุณลักษณะของเนื้อหา และคุณลักษณะของสื่อ มี ประสิทธิภาพดีอยู่แล้ว ยกเว้นแต่เรื่องโอกาสในการซักถาม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งเห็นว่ายังต้องปรับปรุง7.5 ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการสอนทางไกลของ โครงการฯ ในเรื่องคุณลักษณะของผู้สอน ได้แก่ ความสามารถ ของครูผู้สอน วิธีการสอนและการนำเสนอ และการสื่อความอธิบาย ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับในด้านคุณลักษณะของเนื้อหา ได้แก่ เนื้อหาวิชาที่สอน ความมีประโยชน์ และความรู้ที่ได้รับ และ ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับในด้านคุณลักษณะของสื่อ ได้แก่ ความชัดเจนของเสียง ความคมชัดของภาพและการโต้ตอบซักถาม

บรรณานุกรม

รัชราพร นีรนาทรังสรรค์ . (2539) .ประสิทธิภาพของกระบวนการสื่อสารเพื่อการศึกษาทางไกลระดับ มัธยมศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในโครงการศึกษาสายสามัญ ด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น