วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สิ่งที่ได้รับในการเรียนวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

จากการศึกษาในวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับความรู้ในเรื่องการจัดการเทคโนโลยี พื้นฐานในเรื่องการใช้อินเตอร์เน็ต สามรารถนำความรู้ในเรื่องนวัตกรรมการศึกษามาปรับใช้ในการเรียนการสอนของตนเอง สามารถสืบค้นหาความรู้ใหม่ๆในเรื่องการทำวิจัยต่างๆ มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการทำบล็อก มีบล็อกเป็นของตนเอง สามารถรับส่งเมล์ได้คล่องขึ้น สนุกกับการสืบค้นและการหาความรู้จากอินเตอร์เน็ตและสุดท้ายได้เรียนรู้เกี่ยวกับกฎหมาย คุณธรรมจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สรุปบทที่4-6

สรุปบทที่4-6
บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมืองและเทคโนโลยีสมัยใหม่
ปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารจะต้องเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและต้องมีความรู้ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารงาน
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม
ผลกระทบในแง่บวก
1. ผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในสังคม ในด้านการดำเนินชีวิต ความสะดวกสบายและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2. ช่วยพัฒนาระบบการทำงานให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว
3. ช่วยทำให้เกิดการทำงานร่วมกันได้ในทุกที่ทุกเวลา
4. มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยส่งเสริมสุขภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ช่วยในด้านการแพทย์ให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
5. ช่วนพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและการศึกษาด้วยตนเอง
ผลกระทบในแง่ลบ
1. ทำให้เกิดแนวความขัดแย้งในความคิดระหว่างความคิดใหม่กับความคิดเก่า
2. มีการก่ออาชญากรรมทางด้านคอมพิวเตอร์มากขึ้น
3. อัตราการจ้างงานลดลง
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง
มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาในด้านการเตรียมข้อมูลและการเผลแพร่ข้อมูข่าวสารทางด้านการเมือง
ในยุคที่เศษฐกิจมีการแข่งขันอย่างรุนแรง การพัฒนาความรู้เพื่อพัฒนาสังคมให้เป็นสังคมแห่งความรู้แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ
1. ความรู้ที่มีอยู่แต่ละบุคคล ( Tacit Knowledge )
2. ความรู้ที่เปิดเผยในรูปแบบต่าง ( Explicit Knowledge )
ในระบบเศษฐกิจหรืระบบสังคมบนพื้นฐานขององค์ความรู้มีองค์ประสำคัญ 3 ประการคือ
1. ศักยภาพการแข่งขัน
2. เทคโนโลยีสารสนเทศ
3. ทัพยากรมนุษย์
การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน คือ จุดแข็ง , จุดอ่อน และการวิเคราะห์ภายนอก คือ โอกาส, อุปสรรค และเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินองค์กรจะต้องกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายเพื่อทำให้องค์กรประสพความสำเร็จและเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

บทที่ 5 ความรู้พื้นของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรม หมายถึง การนำสิ่งใหม่ๆเข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม ในด้านการศึกษา เรียกว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง การนำสิ่งใหม่ อาจอยู่ในรูปแบบความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในการศึกษา เพื่อมุ่งหวังการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบจัดการศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
ขอบข่ายของนวัตกรรมการศึกษา มีขอบข่ายที่เกี่ยวข้องหลากหลาย มีทั้งวิธีจัดการเรียนการสอน การใช้คอมพิวเตอร์และการออกแบบหลักสูตรให้มีบูรณาการ
หลักการของนวัตกรรมการศึกษามีอยู่ 5 ประการคือ
1. นวัตกรรมเป็นเรื่องของความคิด
2. นวัตกรรมเป็นกุญแจสำคัญเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
3. ประสิทธิภาพของนวัตกรรมสามารถเพิ่มราคาได้
4. ผู้บริหารสูงสุดต้องนำและมีความรับผิดชอบต่อนวัตกรรม
5. ผู้บริหารสูงสุดต้องมีความผูกพันธ์และแพร่กระจายไปยังบุคลอื่น
การสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาต้องอาศัยทักษะ ความช่างคิดและความรู้อย่างสูง แต่ในการลงมือจริงๆนั้นสิ่งที่นวัตกรรมต้องการคือ การลงแรงอย่างพากเพียรด้วยความมุ่งมั่น การสร้างนวัตกรรมขึ้นมานั้นจะต้องผ่านกระบวนการ เพื่อริเริ่ม สร้างและนำนวัตกรรมมาใช้ประโยขน์
แนวโน้มการสร้างและการใช่นวัตกรรมใหม่ในองค์กร เริ่มจากการพัฒนาคน ส่งเสริมทางด้านความคิด โดยเริ่มจากการจุดประกายให้คนในองค์กรมีความคิดจินตนาการ ซึ่งเป็นรากฐานของนวัตกรรมในอนาคต
บทที่ 6 การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษา
เทคโนโลยีในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด จึงทำให้มีการผลิตนวัตกรรมการศึกษาใหม่ๆเกิดขึ้น และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีนวัตกรรมการศึกษาหลายอย่าง ดังนี้
การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บไซด์ คือ การจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ โดยมีรูปแบบการนำเสนอผลงานแบ่งเป็น 2 รูปแบบ
1. การนำเสนอในลักษณะการเรียนการสอนบนเว็บ ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่อาสัยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต การใช้เว็บเพื่อการเรียนการสอนแม้จะเป็นนวัตกรรมใหม่ที่นำเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี แต่การนำมาใช้เพื่อการเรียนรู้หรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู้กับผู้สอนหรือผู้เรียนที่ให้ความสำคัญต่อการใช้เว็บเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
2. การนำเสนอบทเรียนในลักษณะบทเรียนออนไลน์ เป็นรูแบบหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในลักษณะการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางสื่ออินเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครื่อข่ายอินเตอร์เน็ต ทางสัญญารโทรทัศน์หรือสัญญารดาวเทียม
โมบายเลิร์นนิ่ง เป็นพัฒนาอีกขั้นของ e-Learning เป็นการผสมผสานของการพัฒนาการศึกษาการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย คือการศึกษาทางไกลผ่านทางอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบไร้สายต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ PDA และ laptop computer โดยมี Application ที่สำคัญต่างๆ เช่นมีเดียบอร์ด เป็นการเรียนรู้ผ่านระบบเอ็มเลิร์นนิ่ง โดยเน้นที่การทำกิจกรรมเป็นกลุ่มเพื่อส่งและรับข้อมูลแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างครูผู้สอนและผู้เรียน โดยสามารถส่งข้อมูลเป็นภาพ เสียง มัลติมีเดียเว็บไซด์ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือที่เรียกว่า Problem- Based learning ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีการเรียนรู้ผ่านเครื่องพีดีเอ ซึ่งผู้เรียนสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่แหล่งเรียนรู้ผ่านเครื่อพีดีเอที่มีความสามารถเล่นแอนนิเมชั่น ระบบเสียงและคลิปต่างๆเพื่อทำให้สะดวกต่อผู้เรียนในการทำโครงงานและสืบค้นข้อมูลต่างๆ
สวนดุสิตอินเตอร์เน็ตบอร์ดคราสติ่ง เป็นการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อให้บริการเผลแพร่ความรู้และบริการวิชาการสู่สังคมและเป็นการขยายช่องทางการศึกษาผ่านทางเว็บไซด์ของมหาวิทยาลัย ภายใต้การจัดรายการผ่านเว็บไซด์คล้ายกับ สถานีโทรทัศน์ เพื่อให้สามารถเข้าชมและค้นคว้าหาข้อมูลทางวิชาการได้
ห้องสมุดเสมือน เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์สืบค้นสารสนเทศได้อย่างประสิทธิภาพและใช้ประโยชน์ในการสอน การทำผลงานทางวิจัยและเพื่อจัดกระบวนการเรียนการสอนในรูปแบบการค้นคว้าด้วนตนเองให้กับนักศึกษาในการเข้าใช้ห้องสมุดเสมือนเพื่อสืบค้นข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการเรียนและการทำงานต่างๆ

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ประสิทธิภาพของกระบวนการสื่อสาร เพื่อการศึกษาทางไกลระดับมัธยมศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในโครงการศึกษาสายสามัญด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพของกระบวนการสื่อสาร เพื่อการศึกษาทางไกลระดับมัธยมศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยพิจารณาถึงผลที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารทางไกล บทบาทของ เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยพิจารณาถึงผลที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ทางไกล บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ รูปแบบ ข้อดี ข้อเสีย และปัจจัยที่มีผลต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการ สื่อสารเพื่อการศึกษาทางไกล ตลอดจนศึกษาถึงการยอมรับของ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาที่มีต่อรูปแบบการ ศึกษาทางไกลในโครงการศึกษาสายสามัญด้วยระบบทางไกลผ่าน ดาวเทียม การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาในประสิทธิภาพของกระบวนการ สื่อสารเพื่อการศึกษาทางไกลระดับมัธยมศึกษาโดยใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ ด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจำนวน 4 กลุ่ม ซึ่ง ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหารและผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา กลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา กลุ่ม นักวิชาการและนักสื่อสารมวลชน และกลุ่มครูอาจารย์ของโรงเรียน ที่เข้าร่วมในโครงการศึกษาสายสามัญด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม จำนวน 18 คน และได้ศึกษาถึงความคิดเห็นและการยอมรับของ นักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ในเรื่องประสิทธิภาพ ของการสื่อสารเพื่อการศึกษาทางไกลของโครงการฯ โดยสำรวจ ด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างนักเรียนจำนวน 291 คน จาก โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 22 จังหวัดแม่ฮ่องสอน การวิจัยปรากฎผลดังนี้ 1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทต่อการศึกษาทางไกลมาก ทั้งในด้านการบริหารการศึกษาและการเรียนการสอน โดยเป็น เครื่องมือสำคัญในการกระจายโอกาสและสร้างความทัดเทียม ทางการศึกษา 2. เกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อ การศึกษาทางไกลประกอบด้วย2.1 ระดับนโยบาย พิจารณาถึงการลงทุนทางการศึกษา การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม การพัฒนาคุณภาพครู และการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารโทรคมนาคม2.2 ระดับปฏิบัติพิจารณาถึงความพร้อมของโรงเรียน ครูและนักเรียน ความสามารถในการนำไปประยุกต์ใช้ และมีการ ศึกษาประเมินผลการใช้ เพื่อนำเสนอข้อมูลให้กับระดับนโยบาย 3. รูปแบบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมต่อการใช้ เพื่อการศึกษาทางไกลระดับมัธยมศึกษา คือ การผสมผสานเทคโนโลยี หลายรูปแบบ เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ สภาพแวดล้อม และจุดเด่น จุดด้อยของเทคโนโลยี แต่ทั้งนี้สิ่งสำคัญยิ่งกว่าเทคโนโลยี เนื้อหา หรือสารที่อยู่ภายในสื่อ 4. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการศึกษาทางไกล ระดับมัธยมศึกษามีข้อดีในการแก้ปัญหาขาดแคลนครู ซึ่งเป็นประโยชน์ ต่อการกระจายโอกาสและสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา ทั้งนี้มีข้อจำกัดในเรื่องการนำมาใช้ได้ไม่สมบูรณ์แบบ และการ เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีตลอดเวลา ส่วนข้อเสียเป็นผล จากประสิทธิภาพในการแพร่กระจายของเทคโนโลยี สามารถ ถ่ายทอด หากเนื้อหาหรือกระบวนการสอนไม่มีคุณภาพพอ จะเป็น การกระจายสิ่งไม่ดีออกไปในวงกว้างได้ 5. ปัญหาและอุปสรรคในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เพื่อการศึกษาทางไกล ประกอบด้วยการให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี มากกว่าเนื้อหาหรือซอฟต์แวร์ ความไม่พร้อมของผู้ใช้ โดยเฉพาะใน ด้านความรู้ ความเข้าใจ และความไม่พร้อมโครงสร้างพื้นฐาน การสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศที่จะเอื้ออำนวยต่อการศึกษา แนวทางแก้ไขที่สำคัญได้แก่ การจัดตั้งหน่วยงานกลาง เพื่อทำ หน้าที่ดูแลและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา การลงทุนเพื่อพัฒนาครู ตลอดจนสร้างด้านพื้นฐานโครงสร้าง โทรคมนาคม 6. ปัจจัยที่มีผลต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อ การศึกษาทางไกลระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ของผู้ บริหารทางการศึกษาต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ มีการ ศึกษาถึงความต้องการและความพร้อมของผู้ใช้ และมีกระบวนการ ติดตามและประเมินผลการใช้ 7. ผลการวิจัยถึงความคิดเห็นและการยอมรับของนักเรียน ต่อโครงการศึกษาทางไกลสายสามัญด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม ประกอบด้วย7.1 นักเรียนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่า เพศชาย โดยส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และยังไม่ได้ เลือกแผนการศึกษา7.2 ในเรื่องความรู้ความเข้าใจและความคิดเห็นต่อ โครงการฯ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ในเรื่องอุปกรณ์ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความเข้าใจในประโยชน์ของการสอน ทางไกลผ่านดาวเทียม และมีความคิดเห็นว่าการสอนทางไกลมี ความน่าสนใจเท่ากันกับการสอนของครูโดยตรง แต่การสอนของครู โดยตรงจะให้ความรู้และให้โอกาสในการซักถามได้มากกว่า ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ชอบการสอนทั้งสองรูปแบบ7.3 ในเรื่องประโยชน์ ความพึงพอใจและการยอมรับ ต่อโครงการฯ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างเห็นพ้องถึงความจำเป็นที่ต้อง มีครูสอนประกอบ เพื่อทำหน้าที่สรุปบทเรียนแต่ละวิชาเป็นหลัก และเห็นว่าการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมมีประโยชน์มาก สำหรับ ในเรื่องความพึงพอใจกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมากต่อคุณลักษณะ ของครูผู้สอนของโรงเรียนแม่ข่าย คุณลักษณะของเนื้อหาวิชาที่ สอน และคุณลักษณะของสื่อ ยกเว้นเรื่องระยะห่างระหว่างโทรทัศน์ กับที่นั่งเรียนบรรยากาศในห้องเรียน และโอกาสในการซักถาม ซึ่งพึงพอใจปานกลาง7.4 ในเรื่องประสิทธิภาพของการสื่อสารเพื่อการศึกษา ทางไกลของโครงการฯ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าคุณลักษณะ ของผู้สอน คุณลักษณะของเนื้อหา และคุณลักษณะของสื่อ มี ประสิทธิภาพดีอยู่แล้ว ยกเว้นแต่เรื่องโอกาสในการซักถาม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งเห็นว่ายังต้องปรับปรุง7.5 ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการสอนทางไกลของ โครงการฯ ในเรื่องคุณลักษณะของผู้สอน ได้แก่ ความสามารถ ของครูผู้สอน วิธีการสอนและการนำเสนอ และการสื่อความอธิบาย ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับในด้านคุณลักษณะของเนื้อหา ได้แก่ เนื้อหาวิชาที่สอน ความมีประโยชน์ และความรู้ที่ได้รับ และ ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับในด้านคุณลักษณะของสื่อ ได้แก่ ความชัดเจนของเสียง ความคมชัดของภาพและการโต้ตอบซักถาม

บรรณานุกรม

รัชราพร นีรนาทรังสรรค์ . (2539) .ประสิทธิภาพของกระบวนการสื่อสารเพื่อการศึกษาทางไกลระดับ มัธยมศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในโครงการศึกษาสายสามัญ ด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 1

ให้นักเรียนตอบเนื้อหาต่อไปนี้ในเนื้อหาของเมล์
3. 1 ความรู้ที่นักศึกษาได้รับจากการเรียนในครั้งนี้โดยสรุป
บทที่1. ได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพราะในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทและความสำคัญต่อทุกสาขาอาชีพ ดังนั้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จึงต้องมีการบริหารจัดการที่ดี
ระบบสาระสนเทศ หมายถึง ระบบที่ผ่านกระบวนการกลั่นกรองหรือประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการเพื่อที่จะสนับสนุนการปฏิบัติงานขององค์กร
ในปัจจุบันระบบสารสนเทศมักเตรียมได้จากในคอมพิวเตอร์ และจะระบบที่ได้จากคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่รับข้อมูล ประมวลผลและส่งผลลัพธ์ออกมาและทำการประเมินผลเพื่อนำผลย้อนกลับมาปรับปรุงข้อมูลที่รับเข้า
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง กระบวนการในการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลนการสื่อสารมาใช้ในการจัดเก็บข้อมมูล รวบรวมข้อมูล ปรระมวลผลในรูปแบบทีสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
เทคโนโลยีสารสนเทศแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. คอมพิวเตอร์รับส่งข้อมูล บันทึกผลและประมวลผล
2. เครื่อข่ายการสื่อสาร
คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี คือ
1. มีความถูกต้องเชื่อถือได้
2. สามรถตรวจสอบได้
3. ความสมบูรณ์
4. ทันต่อการใช้งานหรือทันเวลา
5. ความกระทัดรัด
6. ตรงประเด็หรือตรงตามความต้องการ
การจัดโครงสร้างของระบบสารสนเทศ จะมีลักษณะคล้ายพีละมิดคือจะมีความสัมพันธ์ของงานจากระดับล่างไปจนถึงระดับสูงแบ่งออกเป็น 4 ระดับคือ
1. การประมวลผลรายงาน
2. การวางแผนด้านการปฏบัติงาน
3. การวางแผนยุทธวิธี
4. การวางแผนกลยุทธ์
ดังนั้นการจัดเตรียมสารสนเทศจึงงต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้บริหารแต่ละระดับ และการสร้างระบบสารสนเทศจะต้องคำนึงถึงคุณสมบัติและทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
บทที่2 เทคโนโลยีสารสนเทศต่อการพัฒนาการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเป็นอย่างมากจึงได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ 3 ด้านคือ
1. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา
3. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ปัจจุบันประเทศไทยได้เน้นการปฏิรูปการศึกษา โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญประกอบกับเทคโนโลยีสารสนเทศเจริญก้าวหน้ามากขึ้น จึงมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างทั่วถึง ในปัจจุบันการค้นหาแหล่งความรู้ต่างๆ สามารถค้นหาผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ผู้ใช้สามารถค้นหาสารสนเทศได้เอง ดังนั้นจึงทำให้มีรูปแบบห้องสมุดใหม่เกิดขึ้น คือ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิก ห้องสมุดดิจิตอล และห้องสมุดเสมือน
บทบาทของระบบเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตกับการสนับสนุนการศึกษา
1. การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นการจัดการศึกษาผ่านดาวเทียม เพื่อแก้ปัญหาจัดการกับความขาดแคลนบุคลากรทางการศึกษา และยังสามารถจัดบริการการศึกษาให้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง
2. การเรียนการสอนผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนส์ เป็นการเรียนการสอนที่เป็นการสื่อสารสองทาง ที่มีลักษณะโต้ตอบกัน มีการรับส่งสัญญาณภาพ เสียงและข้อมูล โดยผู้เรียนและผู้สอนสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกและระบบสามารถสื่อสารข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
3. ระบบการเรียนออนไลน์ เป็นการศึกษาความรู้ผ่านทางอินเตอร์เน็ตผู้เรียนศึกษาด้วยตนเอง โดยเนื้อหาชองบทเรียนจะอยู่ในรูปแบบมัลติมีเดีย
4. ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นระบบการเรียนการสอนโดยใช่สื่อคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอเนื้อหาหรือสารสนเทศและการให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อให้ผู้เรียนตอบสนองต่อบทเรียนได้ตามระดับความสามารถของตนเอง
5. หนังสืออิเล็กทรอนิก เป็นหนังสือที่ถูกนำมาจัดพิมพ์ในรูปแบบดิจิตอลสามารถจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมากในรูปแบบตัวอักษร ทั้งลักษณะภาพดิจิตอล วีดีโอ เสียงดนตรีและเสียงอื่นๆ สามารถเชื่อมโยงกับหนังสืออิเล็กทรอนิกเล่มอื่นๆที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันได้




บทบาทของผู้บริหารการศึกษาต่อการพัฒนาการศึกษา
การพัฒนาการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ผู้บริหารต้องเข้าใจและเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการพัฒนาการศึกษาจะต้องให้ความาสำคัญในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้และความาเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีเพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

3.2 ประโยชน์ที่มีของระบบเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตต่อกระบวนการจัดการศึกษา
1. สามารถหาความรู้ได้หลากหลายเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษา
2. สะดวกและรวดเร็วในการหาข้อมูลทางด้านการศึกษา
3. สามารถเชื่อมต่อเครื่อข่ายในระบบคอนเฟอร์เรนส์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านการศึกษา
4. สามารถนำโปรแกรมต่างๆมาใช้ในการจักระบบการศึกษา
5. เพื่อช่วยให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้น

3.3 เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการใช้โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ตเมื่อเทียบกับการใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์
ข้อดีการติดตั้งโปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ต
1. มีให้เลือกใช้งานหลากหลาย
2. สามารถใช้งานได้สะดวกรวดเร็ว
3. ติดตั้งโปรแกรมได้สะดวก
ข้อเสียของติดตั้งโปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ต
1. การติดตั้งอาจมีไวรัสแฝงตัวในโปรแกรม
2. โปรแกรมจะมีข้อจำกัดในการใช้งาน
3. อาจมีการละเมิดลิขสิทธิ์ของโปรแกรม
4. โปรแกรมบนอินเตอร์เน็ตที่ใช้อาจไม่สมบูรณ์
ข้อดีของการติดตั้งโปรแกรมใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
1. การติดตั้งโปรแกรมมีความสมบูรณ์
2. การติดตั้งโปรแกรมจะไม่มีไวรัสแฝงตัว
ข้อเสียของการติดตั้งโปรแกรมใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
1. โปรแกรมมีการใช้งานไม่หลากหลาย
2. การติดตั้งโปรแกรมไม่สะดวกรวดเร็ว
3. การใช้งานมีข้อจำกัด

ภาพประทับใจ

เป็นภาพที่ไปเที่ยวกองถ่ายพระนเรศวร เป็นวันที่สนุกสนาน และได้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก

ภาพประทับใจ

ภาพนี้เป็นภาพการแสดงของนักเรียนโรงเรียนวังไกลกังวล ในชุดการแสดงบายศรีสู่ขวัญและระบำดอกบัวเพื่อเลี้ยงต้อนรับผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ การแสดงชุดนี้ใช้เวลาฝึกหัดไม่นาน นักเรียนทุกคนตั้งใจแสดงอย่างเต็มที่ จนเป็นที่ชื่นชอบของแขกทุกๆคนที่มาในงานเป็นอย่างมาก